มาตรการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย

มาตรการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: “มาตรการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย” แด่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดทำโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ตามที่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ให้เกียรติศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะทำงานพิจารณาทบทวนมาตรการควบคุมการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า ตามคำสั่งกรมการค้าต่างประเทศที่ 316/2561 ให้เสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อประกอบประเด็น เรื่อง มาตรการ “ห้ามนำเข้า” บุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย
ซึ่งทางคณะทำงานของ ศจย. ขอชี้แจงต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ว่า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง “กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557” เป็น “มาตรการที่ดีที่สุด” ในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีเหตุผล และงานวิจัยเชิงประจักษ์ รองรับ ตามข้อคำถามของกระทรวงพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

“บุหรี่ไฟฟ้า” หรือ “บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic cigarette หรือ E-cigarette) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่นำสารนิโคตินสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น “e-cigs,” “e-hookahs,” “mods,” “vape pens,” “vapes,” “tank systems,” “electronic nicotine delivery systems: ENDS” “vaping” or “JUULing” ในเอกสารวิชาการบางครั้งใช้คำว่า “Electronic nicotine delivery systems (ENDS)”


พิมพ์